8ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

ระบบเอทีเอ็น
            เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกสบายอย่างมากให้แก่ผู้ใช้บริการธนาคาร และเป็นตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศที่ได้รับการนำมาใช้เป็นกลยุทธ์ในการแข่งขันทางธุรกิจ ดังรูปที่ 1.13 โดยในปี พ.ศ. 2520 เป็นปีที่มีการใช้เอทีเอ็มเครื่องแรกของโลก ธนาคารซิตี้แบงก์ ในเมืองนิวยอร์กเริ่มให้บริการฝากและถอนเงินโดยอัตโนมัติแก่ลูกค้า ซึ่งสามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเสาร์-อาทิตย์ด้วย ในขณะที่ธนาคารอื่นๆ ที่ตั้งอยู่ใกล้ๆ บนถนนสายเดียวกันให้บริการลูกค้าในเวลาปกติเท่านั้น คือ เฉพาะจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.00-14.00น. หลังจากหมดบ่ายสองโมงก็หมดโอกาสได้รับบริการฝากถอนเงินแล้ว เมื่อวิเคราะห์มุมมองในการแข่งขันของธนาคารในการให้บริการลูกค้า กล่าวได้ว่า ระบบเอทีเอ็มของธนาคารซิตี้แบงก์เป็นบริการใหม่ที่ทำให้ลูกค้าได้รับความสะดวกสบาย และคล่องตัวได้ดึงดูดลูกค้าจากธนาคารอื่นๆมาเป็นลูกค้าของตัวอง และเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดขึ้นมาเกือบสามเท่าตัวในช่วงเวลาประมาณ 6 เดือน ก่อนที่ธนาคารคู่แข่งจะหันมาให้บริการเอทีเอ็มบ้าง

รูปที่ ตู้ฝากถอนเงินในระบบเอทีเอ็ม

การนำเอาเทคโนโลยีเอทีเอ็มเข้ามาใช้ก่อนเป็นรายแรก สร้างความได้เปรียบเชิงธุรกิจเหนือคู่แข่งเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกในเมืองใหญ่ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นซิดนีย์ โตเกียว ปารีส และรวมทั้งกรุงเทพฯด้วย กล่าวคือ ธนาคารใดในเมืองเหล่านั้นที่ใช้เทคโนโลยีเอทีเอ็มได้ก่อนและให้บริการที่เหนือว่า ก็สามารถดึงส่วนแบ่งการตลาดได้สูงมากเหนือคู่แข่ง เนื่องจากได้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นกลยุทธ์การแข่งขันในแง่การปรับปรุงการบริการลูกค้า เช่น ปรากฏการณ์ที่ธนาคารไทยพาณิชน์นำระบบคอมพิวเตอร์แบบเชื่อมตรงมาบริการการใช้เอทีเอ็ม และประสบความสำเร็จได้ก่อนจึงมีโอกาสดึงส่วนแบ่งการตลาดได้สูง
            เทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของระบบเอทีเอ็มก็คือ ระบบคอมพิวเตอร์ที่รวบรวมระบบข้อมูลบัญชีเงินฝากของลูกค้าธนาคารไว้ในฐานข้อมูลกับเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูลทำให้สามารถเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ออกไปได้ทั่วเมือง ทั่วประเทศ หรือทั่วโลกได้ ผู้ใช้บัตรเอทีเอ็มสามารถเบิกเงินจากธนาคารได้จากตู้เอทีเอ็มที่ติดตั้งอยู่ทั่วไป ทุกครั้งที่โลกค้าใช้บัตรเอทีเอ็มจากตู้เอทีเอ็มจะมีการสื่อสารข้อมูลไปยังฐานข้อมูลกลางที่สำนักงานใหญ่ของธนาคารที่เก็บข้อมูลยอดเงินฝากและรายการเงินฝากถอนเงินของลูกค้า ฐานข้อมูลนี้จึงมีลักษณะสำคัญที่เรียกว่าเป็นฐานข้อมูลกลาง ในความหมายที่ว่า ลูกค้ามีบัญชีเงินฝากในธนาคารแห่งนั้นๆ จะมีข้อมูลอยู่ที่ฐานข้อมูลกลางเพียงชุดเดียว และด้วยระบบการสื่อสารข้อมูลในลักษณะเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้เข้าถึงข้อมูลได้จากระยะไกล นอกจากนี้คอมพิวเตอร์ยังช่วยจัดการประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เช่น การฝาก การโอน และการถอน ที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ
       เทคโนโลยีฐานข้อมูลกลางทำให้สามารถเก็บข้อมูลต่างๆ ได้เพียงชุดเดียว ไม่จำเป็นต้องสำเนาหลายชุด สามารถเรียกใช้แก้ไขได้จากระยะไกล และเมื่อมีการแก้ไขแล้วทุกคนที่เข้ามาใช้ข้อมูลในภายหลังก็จะได้รับข้อมูลที่ทันสมัย การประมวลผลอัตโนมัติด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายนี้ เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นความสำคัญของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่สามารถนำมาประยุกต์ในงานต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรและธุรกิจได้อีกมากมาย

การลงทะเบียนเรียน

การลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง นักศึกษาแต่ละคนสามารถเลือกเรียนวิชาที่สนใจได้ แต่ต้องเป็นวิชาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร การลงทะเบียนแต่ละวิชามีข้อจำกัด คือ จำนวนนักศึกษาแต่ละห้องมีจำนวนจำกัด ดังนั้นการลงทะเบียนเรียนจึงต้องอาศัยข้อมูลจากการประมวลผลแบบเชื่อมตรง เพื่อให้สามารถตรวจสอบการลงทะเบียนได้ทันทีว่า มีวิชาอะไรเปิดสอนบ้าง วิชาใดมีผู้สมัครเรียนเต็มแล้ว ถ้าเต็มแล้วสามารถเปลี่ยนกลุ่ม หรือวิชาอื่นๆใดแทนได้บ้าง
            ขั้นตอนของการลงทะเบียนเรียนของนักศึกษาของมหาลัยแห่งหนึ่ง มีดังนี้
1) นักศึกษานำรายวิชาที่ตนเองสนใจจะเรียน ปรึกษากลับอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อขอความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา จึงนำไปลงทะเบียนเรียนได้
2) นักศึกษานำเอกสารการลงทะเบียนที่มีรายมือชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา มาพบกับเจ้าหน้าที่ลงทะเบียน เจ้าหน้าที่ลงทะเบียนป้อนข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์จะทำการตรวจสอบวิชาที่บันทึกแต่ละวิชาว่าติดขัดข้อกำหนดใดหรือไม่ เช่น มีผู้ลงทะเบียนวิชานั้นเต็มแล้ว ไม่สามารถลงทะเบียนได้ ต้องให้นักศึกษาเปลี่ยนกลุ่มเรียน หรือหากต้องการลงทะเบียนวิชาใหม่ ก็ต้องกลับไปขอความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาอีกครั้ง
3) โปรแกรมพิมพ์รายการที่นักศึกษาลงทะเบียนทั้งหมด พร้อมทั้งคิดค่าใช้จ่ายที่นักศึกษาต้องจ่ายเป็นค่าลงทะเบียนเรียน
4) นักศึกษาจ่ายเงินและรับเอกสารใบเสร็จที่พิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์
5) เมื่อลงทะเบียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะมีข้อมูลในฐานข้อมูลที่บงบอกได้ว่า แต่ละวิชามีนักศึกษาผู้ใดลงทะเบียนเรียนบ้าง นักศึกษาลงทะเบียนรวมทั้งสิ้นกี่คน พร้อมทั้งพิมพ์รายงานการลงทะเบียนของนักศึกษาในแต่ละวิชา แจ้งให้อาจารย์ผู้สอนวิชานั้นๆ ทราบ
6) ในกรณีที่นักศึกษาต้องการเพิ่มหรือถอนการลงทะเบียนในภายหลัง ซึ่งอยู่ในระยะเวลาที่อนุญาต นักศึกษาสามารถดำเนินการโดยขออนุญาตการเพิ่มหรือถอนจากอาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ประจำวิชา แล้วนำเอกสารให้เจ้าหน้าที่ป้อนรหัสวิชาที่เพิ่มหรือถอน โปรแกรมจะตรวจสอบกับฐานข้อมูล และพิมพ์รายการทางด้านการเงิน พร้อมทั้งปรับปรุงฐานข้อมูลให้ถูกต้องอยู่เสมอ ข้อมูลในระบบการลงทะเบียนของสถานศึกษา มีการเปลี่ยนแปลงและทำให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา สามารถเรียกใช้หรือตรวจสอบข้อมูลได้ทันที ข้อมูลเหล่านี้จะนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดการศึกษาต่างๆ เช่น การจัดตารางสอน การจัดห้องสอบ การปรับปรุงข้อมูลคะแนน รวมถึงการรายงานผลต่างๆ

3 การบริการและการทำธุรกรรมบนอินเทอร์เน็ต

การเติบโตของเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทำให้มีผู้ใช้งานกันอย่างกว้างขวาง เครือข่าย
อินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก ทำให้การสื่อสารระหว่างกันบนอินเทอร์เน็ตทำได้ง่ายและมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าระบบการสื่อสารแบบอื่น การสื่อสารที่นิยมบนอินเทอร์เน็ตได้แก่ การรับส่งข้อมูลกับการแลกเปลี่ยน โอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน การส่งอีเมล์ การกระจายทำการในรูปแบบเว็บเพจ ตลอดจนการโต้ตอบสื่อสารแบบส่งข้อความและการประยุกต์ในเรื่องธุรกิจอีกมากมาย
            การประยุกต์ที่น่าสนใจบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอย่างหนึ่ง คือ ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออีคอมเมิร์ซ ( electronic commerce : e-commerce ) หรือการค้าขายบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการตั้งร้านบนอินเทอร์เน็ตจำนวนมาก ผู้ตั้งร้านค้าใช้เว็บ
เพจนำเสนอสินค้าและบริการต่างๆ ซึ่งทำให้ผู้เข้าใช้บริการสามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ ทุกประเทศ เป็นการเปิดร้านค้าที่มีลูกค้าเข้าเยี่ยมชมจากที่ต่างๆ ได้ทั่วทุกมุมโลก ตัวอย่างเช่น ร้านหนังสือหลายแห่งที่อยู่บนเครือข่าย มีหนังสือที่ทางร้านนำเสนอหลายแสนเล่ม มีระบบข่ายค้นหาหนังสือที่ต้องการ และหากส่งใจติดต่อสั่งซื้อก็กรอกลงในแบบฟอร์มการสั่งซื้อ มีระบบการชำระเงินได้หลายแบบ เช่น ระบบชำระเงินผ่านบัตรเครดิต ระบบโอนเงินผ่านธนาคาร ระบบนำสินค้าส่งถึงที่แล้วค่อยชำระเงิน การจัดส่งสินค้าก็ทำได้รวดเร็ว มีเครือข่ายการส่งสินค้าได้ทั่วโลกผ่านทางบริษัทจัดส่งสินค้าแบบเร่งด่วน ระบบการค้าขายบนอินเทอร์เน็ตจึงเติบโตและมีผู้นิยมเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เพราะข้อดีคือ สามารถนำเสนอสินค้าให้กับโลกค้าได้กว้างขวาง สินค้าบางอย่างเป็นสินค้าที่มีมากและราคาถูกในท้องที่หนึ่งแต่อาจเป็นที่ต้องการในอีกที่หนึ่ง เช่น คนไทยสามารถส่งปลาทูขายผ่านระบบอีคอมเมิร์ซไปยังผู้บริโภคแถบตะวันออกกลาง โดยระบบบรรจุหีบห่อแช่แข็งขนาดเล็ก ส่งผ่านบริษัทจัดส่งสินค้าเร่งด่วนไปยังผู้บริโภคได้ นอกจากนี้สินค้าประเภทหัตถกรรมไทยจำนวนมากก็เป็นที่ต้องการของต่างประเทศ การนำเสนอสินค้าผ่านทางเครือข่าย จึงเป็นหนทางของการเปิดตลาดให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น จนในปัจจุบันมีผู้ตั้งร้านค้าบนเครือข่ายมากมาย โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดย่อม

นอกจาการทำการค้าบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแล้ว บริษัท ห้างร้าน และหน่วยงานราชการต่างๆ ก็หันมาดำเนินการ หรือให้บริการทางอินเทอร์เน็ตมากขึ้น โรงแรมและการท่องเที่ยวเสนมบริการ และการจองเข้าพักโรงแรมหรือการซื้อตั๋วเครื่องบินผ่านทางอินเทอร์เน็ต
            กรมสรรพากรเสนอบริการให้ผู้เสียภาษียื่นแบบรายการการเสียภาษีผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้คนรายแสนคนที่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบรายการเสียภาษีไม่ต้องเดินทางไปที่สำนักงานสรรพกรพื้นที่ ผู้เสียภาษีสามารถยื่นแบบรายการเสียภาษีได้จากที่ทำงาน หรือที่บ้านทำให้ลดปัญหาเรื่องการเดินทางและการจราจรได้มาก

บริษัทและหน่วยงานทางธุรกิจจำนวนมากใช้ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การส่งใบสั่งซื้อสินค้าในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ การตรวจสอบรายการสินค้าตามห้างร้านค้าปีกแบบออนไลน์ การโต้ตอบธุรกิจแบบต่างๆ ทำให้ลดการใช้กระดาษและทำให้การดำเนินการเป็นไปได้รวดเร็ว ลดค่าใช้จ่ายโดยรวม เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการ
            รัฐบาลมีเป้าหมายให้ทุกหน่วยราชการดำเนินกิจกรรมต่างๆ บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เช่นกัน การแรกเปลี่ยนข้อมูลทำงานบนเครือข่ายทำให้เกิดการดำเนินกิจกรรมที่เรียกว่า “ อีกอปเวอร์นเมนต์ “ ( eGovernment ) เช่น เมื่อประชาชนติดต่อกระทรวงต่างประเทศเพื่อขอหนังสือเดินทาง กระทรวงต่างประเทศต้องการตรวจสอบบุคคล ก็สามารถเชื่อโยงเรียกใช้ข้อมูลสำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชนได้จากสำนักทะเบียนราษฎร์ กระทรวงมหาดไทยได้โดยตรงและทันที ทำให้การตรวจสอบบุคคลแม่นยำถูกต้อง โดยประชาชนผู้ขอใช้บริการไม่ต้องถ่ายสำเนา และการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐทำให้การบริการประชาชนมีความรวดเร็ว และเป็นที่ปรารถนาของประชาชน นอกจากนี้รัฐบาลยังส่งเสริมให้หน่วยงานราชการดำเนินกิจกรรมต่างๆ กับบริษัท ห้างร้าน เช่น การประมูลซื้อสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ตโดยหน่วยงานรัฐจะเสนอรายการซื้อสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ต และให้บริษัทผู้ขายเสนอราคาผ่านทางอินเทอร์เน็ต ทำให้การประมูลจัดซื้อของทางราชการมีความรวดเร็ว สะดวกและมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น